วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา๔

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ( แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๒๕๕๑ ) มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น (๒) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติ นี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้ หลักเกณฑ์โดยย่อ ๑. พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และงานหรือนายจ้างที่ยกเว้นในกฎกระทรวง ๒. กฎกระทรวง ( พ.ศ.๒๕๔๑ ) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ (๑) มิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ บังคับแก่นายจ้างซึ่ง ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู หลักเกณฑ์โดยย่อ  ลูกจ้างตำแหน่งอื่นของโรงเรียนเอกชน เช่น นักการภารโรง เสมียน พนักงาน พนักงานบัญชีการเงิน พนักงานขับรถ เป็นต้น อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  ลูกจ้างของมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ว่าตำแหน่งใด อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑  สถานศึกษาของราชการ ไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ เนื่องจากเป็นหน่วยงานราชการ ตามมาตรา ๔(๑) ฎีกาสำคัญ ฎีกาที่ ๕๓๖๔ – ๕๓๖๘ / ๒๕๔๓ กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ฉบับที่ ๑ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๑ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๔ วรรคสอง และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ บัญญัติไว้ใน (๑) ว่ามิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงเรียนบริหารธุรกิจภาคใต้ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ได้ว่าจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งครูผู้สอน โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ (๒) มิให้ใช้บทบัญญัติบางมาตราในพระราชคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ บังคับแก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านที่ไม่มีการประกอบธุรกิจอื่นรวมอยู่ด้วย ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน คือ ลูกจ้างที่ทำงานรับใช้ในบ้านเรือน เช่น ทำความสะอาด ทำอาหาร ซักรีดเสื้อผ้า เลี้ยงดูเด็ก ทำสวน ดูแลบ้าน เป็นต้น หลักเกณฑ์โดยย่อ  ลูกจ้างนั้นต้องทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอย่างเดียว ไม่มีงานอื่นรวมด้วย จึงจะเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวง  เดิมประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ไม่ถือว่าลูกจ้างที่ทำงานบ้านเป็นลูกจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ถือว่าลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านที่มีการประกอบธุรกิจอื่นรวมอยู่ด้วยเป็นลูกจ้าง ซึ่งได้รับความคุ้มครองเพียงบางลักษณะเท่านั้น โดยไม่ใช้บังคับสำหรับ  หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๑๒, มาตรา ๑๘, มาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๒  หมวด ๒ การใช้แรงงานทั่วไป มาตรา ๒๓ – ๓๗ เว้นแต่ ตามมาตรา ๓๐  หมวด ๓ การใช้แรงงานหญิง มาตรา ๓๘ - มาตรา ๔๓  หมวด ๔ การใช้แรงงานเด็ก มาตรา ๔๔ – มาตรา ๕๒  หมวด ๕ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่า ล่วงเวลาในวันหยุด มาตรา ๕๓ – มาตรา ๗๗  หมวด ๖ คณะกรรมการค่าจ้าง มาตรา ๗๘ – มาตรา ๙๑  หมวด ๗ สวัสดิการ มาตรา ๙๒ – มาตรา ๙๙  หมวด ๘ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน มาตรา ๑๐๐ – มาตรา ๑๐๗  หมวด ๙ การควบคุม มาตรา ๑๐๘ – มาตรา ๑๑๕  หมวด ๑๐ การพักงาน มาตรา ๑๑๖ – มาตรา ๑๑๗  หมวด ๑๑ ค่าชดเชย มาตรา ๑๑๘ – มาตรา ๑๒๒  หมวด ๑๓ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มาตรา ๑๒๖ – มาตรา ๑๓๘ (๓) มิให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ซึ่งหมายถึง ๑) งานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ให้ดูที่งานมิใช่ดูที่วัตถุประสงค์ของนายจ้างหรือองค์กรของนายจ้าง ๒) งานนั้นต้องทำได้โดยไม่คิดค่าตอบแทน หรือคิดเท่าทุน หรือมี กำไรบ้างก็นำมาเป็นทุนเพื่อดำเนินการต่อไป โดยมิได้นำไป แบ่งปัน หรืองานที่ทำโดยไม่เรียกร้อง แล้วแต่ผู้รับบริการจะจ่าย ให้หรือไม่ก็ได้ ๓) บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ที่มิใช้บังคับกับงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ มีดังนี้  หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๑๒, มาตรา ๑๖, มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๒  หมวด ๒ การใช้แรงงานทั่วไป มาตรา ๒๓ – มาตรา ๓๗  หมวด ๓ การใช้แรงงานหญิง มาตรา ๓๘ – มาตรา ๔๓  หมวด ๔ การใช้แรงงานเด็ก มาตรา ๔๔ – มาตรา ๕๒  หมวด ๕ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่า ล่วงเวลาในวันหยุด มาตรา ๕๓ – มาตรา ๗๗ เว้นแต่การจ่ายค่าจ้างตามมาตรา ๕๓, มาตรา ๕๔, มาตรา ๕๕ และมาตรา ๗๐  หมวด ๖ คณะกรรมการค่าจ้าง มาตรา ๗๘ – มาตรา ๙๑  หมวด ๗ สวัสดิการ มาตรา ๙๒ – มาตรา ๙๙  หมวด ๙ การควบคุม มาตรา ๑๐๘ – มาตรา ๑๑๕  หมวด ๑๐ การพักงาน มาตรา ๑๑๖ – มาตรา ๑๑๗  หมวด ๑๑ ค่าชดเชย มาตรา ๑๑๘ – มาตรา ๑๒๒  หมวด ๑๓ กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มาตรา ๑๒๖ – มาตรา ๑๓๘ ฎีกาสำคัญ ฎีกาที่ ๑๗๘๕ / ๒๕๒๗ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางในการปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐ ดำเนินกิจการควบคุมการเงินและการคลังของรัฐให้ถูกต้องเหมาะสม และมีเสถียรภาพ ธุรกิจที่ธนาคารนี้ประกอบก็กระทำไปในฐานะธนาคารกลาง มิได้เป็นการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่น หากจะมีกำไรบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น ถือไม่ได้ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ จึงได้รับการยกเว้นมิต้องอยู่ภายใต้บังคับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฎีกาสำคัญ ฎีกาที่ ๙๓ / ๒๕๓๘ แม้จำเลย ( สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ) จะมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักร อันมิใช่เป็นการหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันก็ตาม แต่จำเลยมีรายได้ จากค่าตอบแทนในการบริการตลอดจนผลประโยชน์จากทรัพย์สิน และมีงบรายรับรายจ่าย หากรายได้สูงกว่ารายจ่ายจะตกเป็นทุนในการดำเนินงานต่อไป การดำเนินกิจการของจำเลยมีลักษณะแสวงหาประโยชน์จากกิจการเหล่านี้ โดยมิใช่เป็นกิจการให้เปล่า จึงเป็นกิจการที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (๔) มิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ๒๕๔๑ บังคับแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานในงาน ดังต่อไปนี้ ๑ ) งานเกษตรกรรม ๒ ) งานรับไปทำที่บ้าน อาจารย์ สมชาย หลักคงคา

ไม่มีความคิดเห็น: