วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน



ในยุคเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันอย่างสูงทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลประกอบการ ภาพลักษณ์ขององค์กร ความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงขององค์กรในระยะยาว ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากปัจจัยในการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรทั้งสิ้น หัวหน้างานคือปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมให้องค์กรประสบความสำเร็จและขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่างๆ ขององค์กร บริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร ให้ฝ่าฟันมรสุมและอุปสรรคต่างๆ ให้ผ่านพ้นไปอย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์กร หลักสูตรบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างานนี้ จะชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่สำคัญและความจำเป็นที่หัวหน้างานจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อนำไปปรับใช้และพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการคาดหวังจากผู้บริหารในระดับหัวหน้างานทุกคน

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
เข้าใจถึงความคาดหวังของผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ
เข้าใจถึงบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงทักษะการเป็นหัวหน้างาน
เกิดความตื่นตัวในการใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
ทราบถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้หัวหน้างานประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

หัวข้อในการฝึกอบรม
Model ความคาดหวังของผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ
ลักษณะหัวหน้างานที่ลูกน้อง “ขยาด”
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างาน
เทคนิคการเสริมสร้างภาวะผู้นำด้วยหัวใจ IM
จรรยาบรรณของหัวหน้างาน

คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
: ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, และผู้ต้องการพัฒนาตัวเอง

รูปแบบการฝึกอบรม
: บรรยายและ Work Shop

ระยะเวลาการฝึกอบรม
: 1 วัน

วิทยากร
อ.สมชาย หลักคงคา ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
E-mail: somchailak1@hotmail.com
Mobile: 081-6529843




วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประกันสังคมกับสิทธิประโยชน์ 7 ประการ



ในทุกๆ เดือน ลูกจ้างและนายจ้างที่เข้าข่ายตามข้อกำหนดของกฎหมายประกันสังคม จะถูกหักเงินสมทบ ฝ่ายละ 5% ของค่าจ้าง ซึ่งลูกจ้างเองมักจะไม่เข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของประกันสังคม ซึ่งมีทั้งสิ้น 7 ประการ หลักสูตรนี้ออกแบบขึ้นเพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 ประการอย่างเจาะลึก และเป็นการทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกันตน ( ลูกจ้าง ) ได้รับอัตถประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ณ ปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม
- เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์ 7 ประการของประกันสังคม
- เพื่อให้ลูกจ้างใช้สิทธิเกี่ยวกับประกันสังคมได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้ลูกจ้างลดค่าใช้จ่ายส่วนตัวในด้านการรักษาพยาบาล
- เพื่อให้ผู้ประกันตน ( ลูกจ้าง ) ได้รับอัตถประโยชน์สูงสุดในการได้รับบริการ
- และการใช้สิทธิได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายประกันสังคม
หัวข้อการฝึกอบรม
- สิทธิประโยชน์ 7 ประการของประกันสังคม
- ข้อควรคำนึงในการใช้สิทธิประโยชน์ทั้ง 7 ประการ
- ปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการทางการแพทย์และสิทธิประโยชน์ต่างๆ
- คำแนะนำผู้ประกันตน ( ลูกจ้าง ) และนายจ้างเกี่ยวกับกฎหมายประกันสังคม
คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม
ลูกจ้าง, นายจ้างและผู้สนใจทั่วไป

ระยะเวลาการฝึกอบรม
1 วัน

วิทยากร
อ.สมชาย หลักคงคา อดีตนักวิชาการประกันสังคมและผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
E-mail : somchailak@hotmail.com
Mobile :. 081-6529843

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการค้นหาศักยภาพของพนักงานภาคปฏิบัติ




เมื่อองค์กรรับพนักงานเข้ามาทำงาน ความคาดหวังของผู้บริหาร ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชาในทุกระดับก็คือ พนักงานจะนำศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองออกมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พนักงานแต่ละคนมีความแตกต่างกันในหลายๆ ประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์หรือทักษะในการทำงาน ผู้บริหาร ผู้จัดการหรือผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับจึงมักประสบปัญหาในการที่จะนำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของพนักงานออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

หลักสูตรเทคนิคการค้นหาศักยภาพของพนักงานภาคปฏิบัตินี้ จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ ในภาคทฤษฏี และฝึกค้นหาศักยภาพของพนักงานในภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ท่านจะสามารถช่วยให้พนักงานในองค์กรของท่าน ค้นพบความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของพนักงานและนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้กับองค์กรได้อย่างแท้จริงและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยให้พนักงานค้นพบความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา ซึ่งยังไม่ได้นำออกมาใช้
2. เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับพนักงาน
3. เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้กับพนักงาน
4. เพื่อค้นหาจุดแข็งของพนักงานให้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงาน
5. เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กร


ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ
ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ
ผู้ที่ต้องการฝึกฝนและพัฒนาตนเอง

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประมาณ 30 คน

วิธีการฝึกอบรม
บรรยาย และฝึกปฏิบัติ

ระยะเวลาการฝึกอบรม
1วัน

วิทยากร
อาจารย์สมชาย หลักคงคา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาการบริหารและการบริหารทรัพยากรมนุษย์
E-mail: Somchailak@hotmail.com
Mobile: 081-6529843

หัวข้อการบรรยาย
1. นิยามของคำว่า ความรู้ ความสามารถ ทักษะ
2. กลวิธีในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน
3. เครื่องมือในการค้นหาศักยภาพของพนักงาน
4. การฝึกภาคปฏิบัติในการค้นหาศักยภาพของพนักงาน


การประเมินผู้เข้ารับอบรม
แบบทดสอบ Pre-test / Post-test

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ยอดผู้นำยุคใหม่


ในบางครั้งคำว่าภาวะผู้นำและการบริหารจะใช้แทนกัน แต่จริงๆแล้วทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกัน โดยผู้นำ อาจเป็นผู้บริหาร แต่ไม่ใช่ผู้บริหารทุกคนที่เป็นผู้นำ ดังนั้น อะไรคือ ข้อแตกต่างระหว่างสองคำนี้กันแน่ ?
การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ไม่ใช่ให้คนอื่นเดินตาม แต่คนอื่นอยากเดินตามเรา และพร้อมจะเดิน เคียงข้างเรา ผู้นำเป็นสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมากกับองค์กร ทั้งในด้านของความสำเร็จ และการกำหนดวัฒนธรรมองค์กร ผู้นำที่เข้มแข็ง และมีจริยธรรม เป็นสิ่งที่ธุรกิจ ในยุคปัจจุบันต้องการ
ความเป็นผู้นำไม่ได้เป็นแค่เพียงผู้บริหาร แต่ยังรวมถึงการมีพันธกิจ และวิสัยทัศน์สามารถทำให้วิสัยทัศน์และพันธกิจนั้นเป็นจริง

วัตถุประสงค์

เพื่อให้รู้จักกรอบความคิดของผู้นำแต่ละสไตล์
เพื่อให้เข้าใจว่ากรอบความคิดแต่ละแบบทำให้เกิดจุดแข็ง จุดอ่อน และพรสวรรค์ ของผู้นำแต่ละสไตล์
ตระหนักถึงอุปสรรค และปัญหาของผู้นำ
จัดทำแผนพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำ
ปรับเปลี่ยนกรอบความคิดในเรื่องผู้นำ เพื่อตอบสนองต่อสถานนะการณ์ได้อย่างเหมาะสมและความยืดหยุ่นมากขึ้น



หัวข้อการบรรยาย

คุณลักษณะของผู้นำ ในสไตล์เอ็นเนียแกรม
พลังบุคลิกภาพสองประการเพื่อการกระตุ้นผู้อื่น
กลยุทธ์การดึงศักยภาพ สไตล์เอ็นเนียแกรมจากลูกน้อง
การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ


ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ
หัวหน้างานทุกระดับ
พนักงานทุกระดับ / ผู้ต้องการพัฒนาตนเอง

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประมาณ 30 คน

วิธีการฝึกอบรม
บรรยายและฝึกภาคปฏิบัติ

ระยะเวลาการฝึกอบรม
1 วัน

วิทยากร
อาจารย์ สมชาย หลักคงคา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการสร้างแรงจูงใจ และภาวะผู้นำ
E-mail: Somchailak@hotmail.com
Mobile: 081-6529843

การประเมินผู้เข้ารับ ผู้เข้ารับการอบรม
Pre-test และ Post-test จากวิทยากร



Posted by Picasa

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เคล็ดลับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน

การสร้างความสำเร็จขององค์กร ก็คือการสร้างผลกำไรให้กับองค์กร ซึ่งเป็นมุมมองในเชิงของการลงทุน ส่วนมุมมองในเรื่องพื้นฐานการสร้างความสำเร็จขององค์กร จะต้องเกิดจากการที่พนักงานมีแรงบันดาลใจในการทำงาน ยิ่งองค์กรใด มีพนักงาน ที่ทำงานแบบทุ่มกายถวายหัวใจ ทำงานเกินร้อยทำงาน ด้วยความมุ่งมั่น ทำงานด้วยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทำงานด้วยพลังจิตใต้สำนึกที่ดี ที่มีอยู่ในตัวตนของพวกเขา องค์กรก็จะมั่นคง แข็งแกร่งไม่ว่าเศรษฐกิจจะมีความเปลี่ยนแปลงหรือผกผันอย่างรุนแรงเท่าใดก็ตาม องค์กรก็จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น ความสำเร็จขององค์ก็จะอยู่ไม่ไกลเกินความเป็นจริง

คำถามที่เกิดขึ้นในใจก็คือ องค์กรจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้พนักงาน ทุกระดับในองค์กร ทำงานแบบทุ่มกายถวายหัวใจด้วยความเต็มใจ เพื่อความสำเร็จ ขององค์กร อย่างยั่งยืนและเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานของพนักงาน หลักสูตรนี้ได้ออกแบบ และนำเคล็ดลับการสร้างบันดาลใจให้กับพนักงาน ทุกระดับในองค์กร มาชี้แนะแนวทางและฝึกภาคปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนและสามารถนำหลักสูตรไปสร้างและบรรจุไว้เป็นระบบพื้นฐานในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล และมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน

เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ธรรมชาติของงาน”
เพื่อให้พนักงานทุกระดับทำงานด้วยความทุ่มเทและมุ่งมั่นในความสำเร็จในงาน
เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวของพนักงาน
เพื่อสร้างระบบการพัฒนาบุคลากรในองค์กร

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ
หัวหน้างานทุกระดับ
พนักงานทุกระดับ / ผู้ต้องการพัฒนาตนเอง

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประมาณ 30 คน

วิธีการฝึกอบรม
บรรยายและฝึกภาคปฏิบัติ
ระยะเวลาการฝึกอบรม
1 วัน

วิทยากร
อาจารย์สมชาย หลักคงคา ผู้เชี่ยวชาญด้าน จิตวิทยาการสร้างแรงจูงใจ แล การบริหารทรัพยากรมนุษย์
E-mail: Somchailak@hotmail.com
Mobile: 081-6529843

หัวข้อการบรรยาย
ธรรมชาติของงาน
การทำงานด้วยหัวใจ
การค้นหาศักยภาพในตัวพนักงาน
การสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน
การวางระบบพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้านการสร้างแรงจูงใจ


การประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรม
Pre-test และ Post-test จากวิทยากร



Posted by Picasa

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น

การบริหารจัดการในยุคปัจจุบันจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อองค์กรนั้นมีผู้นำที่มีศักยภาพ นั่นก็คือ จะต้องมีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์ เข้าใจนโยบาย และเป้าหมาย ขององค์กร รอบรู้ และเชี่ยวชาญ ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง คิดวิเคาะห์อย่างมีเหตุ มีผล ใช้กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ และพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม
ผู้บังคับบัญชาระดับตัน ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร เช่น หัวหน้าชุด หัวหน้ากะ หัวหน้าหน่วย Team Leader Foreman Supervisor ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่ มีบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญ ในการผลักดันให้เป้าหมายขององค์กร บรรลุผลสำเร็จได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมีการพัฒนา และเตรียมความพร้อมให้กับผู้บังคับบัญชาระดับต้น ที่จะต้องเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ การงานที่สูงขึ้นไปพร้อมๆ กับความเจริญก้าวหน้าขององค์กร เพื่อสร้างความมั่นคง และแข็งแกร่ง ให้กับองค์กร และสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในการทำงานของผู้บริหารระดับต้น
2. เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร
3. เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดแทนตำแหน่งงาน
4. เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน
5. เพื่อเรียนรู้ และนำกลยุทธ์ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- ผู้บริหารระดับต้น
- หัวหน้าหน่วย, หัวหน้าชุด, หัวหน้ากะ
- Team Leader, Forman, Supervisor
- หรือผู้ที่ต้องการศึกษา


จำนวน
ประมาณ 30 คน


ระยะเวลาการอบรม
1 วัน


เอกสารประกอบ
มีเอกสารประกอบจากวิทยากร

วิทยากร
อ. สมชาย หลักคงคา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
E-mail: somchailak@hotmail.com
Mobile: 081-5534072


หัวข้อการฝึกอบรม
1. การเตรียมการพัฒนาผู้บังคับบัญชาระดับต้น
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น
3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้บังคับบัญชาระดับต้น
4. ลักษณะผู้นำที่องค์กรพึงประสงค์
5. การใช้เทคนิคกลุ่มคุณภาพ (Quality Control Circle) ในการพัฒนาผู้บังคับบัญชาระดับต้น


การประเมินผล
แบบทดสอบ และ Work Shop



Posted by Picasa

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเสริมสร้างประสิทธิภาพงาน HR&GA ด้วยการฝึกตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ ตอนที่1

ภารกิจหรือพันธกิจ ( Mission ) ของหน่วยงานทรัพยากรบุคคลและธุรการ ที่เป็นภารกิจหลักหรือฟังก์ชั่นงานหลัก ( Job Functions ) โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย งานสรรหาและว่าจ้าง, งานฝึกอบรมและพัฒนา, งานค่าจ้างเงินเดือน, งานสวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทน, งานแรงงานสัมพันธ์และงานธุรการ และในหลายๆองค์กร อาจพ่วงงานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมไปอีก 1 ฟังก์ชั่น จากประสบการณ์ของผมที่ทำงานทางด้านนี้มาประมาณ 14 ปี พบว่าความคาดหวัง (Expectations) ของเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารในองค์กรและความคาดหวังของพนักงาน นับวันจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โจทย์ที่ HR & GA ได้รับในแต่ละวันทำงาน ก็ยิ่งทวีความยากหรือความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วล่ะครับที่เราชาว HR & GA จะต้องเสริมสร้างศักยภาพในการทำงาน โดยวางแผนการทำงานในเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Planning ) ซึ่งเราจะเห็นได้จากตำราหรือได้ยินจากกูรู ( Guru ) ต่างๆ หลายสำนัก แต่หลายครั้งที่เราอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือได้รับการฝึกอบรมในเชิงทฤษฎีแล้วไม่สามารถนำความรู้ที่เราได้รับกลับมาใช้ในชีวิตการทำงานจริงๆ ได้ ไม่ต้องวิตกกังวลครับ วันนี้ผมวิธีเสริมสร้างประสิทธิภาพงาน HR & GA แบบง่ายๆ มาเล่าสู่กันฟังครับ เพื่อเป็นแนวทาง( Guildline) ในการทำงานHR & GA ติดตามกันเลยนะครับ
งานสรรหาและว่าจ้าง (Recruitment and Selection)
ก่อนที่จะมีการสรรหาและว่าจ้างพนักงานเข้าสู่องค์กร จะมีกระบวนการที่สำคัญประการหนึ่งคือ
การวางแผนกำลังคน ( Manpower Planning ) ซึ่งถือเป็นกระบวนการสำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทฯหรือสถานประกอบกิจการ รวมทั้งการดำเนินธุรกิจ เราลองมาดูคำถามที่ HR & GA จะต้องฝึกตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ ก่อนที่จะดำเนินการในกระบวนการถัดไปครับ
หัวข้อคำถาม ( Topic of Questions)
1. ทำไมจึงต้องมีการวางแผนกำลังคน?
คำตอบ : 1.1 เพื่อการคาดคะเนความต้องการกำลังคน ณ ปัจจุบันและอนาคต
1.2 เพื่อการวางแผนการฝึกอบรมและพัฒนากำลังคน
1.3 เพื่อการศึกษาวิจัยกำลังคนว่ามีการเลือกใช้คนให้เหมาะสมกับงานหรือไม่( Put the right man on the right job )
2. ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นหากไม่มีการวางแผนกำลังคน?
คำตอบ : 2.1 ปริมาณงานมีมาก ขณะที่ปริมาณคนน้อยกว่างาน (งานล้นคน)
2.2 ปริมาณงานมีน้อย ขณะที่ปริมาณคนมากกว่างาน ( คนล้นงาน)
2.3 ได้คนที่ไม่มีคุณภาพ
2.4 เสียโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ (Loss of the competetive advantage)
2.5 วิสัยทัศน์ขององค์กรไม่บรรลุผลสำเร็จ
3. มีเทคนิคอะไรบ้างในการพยากรณ์เกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน? (Manpower Forecasting)
คำตอบ : 3.1เทคนิคการใช้ผู้ชำนาญการเป็นผู้ประมาณการวางแผนกำลังคน (TheDelphiTechnique)
3.2 เทคนิคการคาดการณ์แนวโน้ม (Trend Projection Technique)
3.3 เทคนิคในการสร้าง Model หรือพยากรณ์จากหลายๆ ทาง (Multiple PredictiveTechniques)
3.4 การใช้เทคนิคการพยากรณ์จากหน่วยงานต่างๆ
4. มีขั้นตอนในการวางแผนกำลังคนอย่างไร?
คำตอบ : 4.1 จะต้องมีการวิเคราะห์ 2 ด้าน คือ
4.1.1 คุณภาพ ( Quality) ได้มาจากการวิเคราะห์งาน ( Job Analysis) ที่ทำให้สามารถระบุถึงคุณสมบัติของคนที่ต้องการสำหรับแต่ละตำแหน่งงาน
4.1.2 ปริมาณ ( Quantity ) จะต้องคำนึงถึงจำนวนบุคลากรที่ใช้ในการปฏิบัติงานโดยจะต้องเพียงพอและเหมาะสมกับปริมาณงานที่มีอยู่
4.2 การวิเคราะห์ปริมาณงาน ( Work-load Analysis) การพยากรณ์ยอดขาย ( Sale Forecasting) และนำมาใช้ในการวางแผน
-การขาย, วางแผนการผลิตและวางแผนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นๆ แผนงานที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงหน่วยงาน ( Work unit ) ที่จะต้องปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิต ( Product ) เป็นสินค้า
- ดำเนินการคำนวณประสิทธิภาพหรือกำลังการผลิตของแต่ละหน่วยงาน ( Work unit ) ออกมาเป็นหน่วยของ Man Hours ซึ่งหมายถึงอัตราเฉลี่ยในการผลิตสินค้าและบริการ 1 ชิ้นงาน ( หน่วย ) โดยคน 1 คน จะต้องใช้เวลาในการปฏิบัติงาน โดยเทียบเป็นหน่วยของชั่วโมง
สูตร : การคำนวณหา = เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานทั้งหมดMan Hoursจำนวนสินค้าที่ผลิตได้
4.3 การวิเคราะห์กำลังคน ( Work-force Analysis )
- วิเคราะห์ปัจจัย 2 ประการ คือ อัตราการขาดงาน ( Absenteeism ) และอัตราการหมุนเวียนของคนงาน ( Turnover Rate )
- อัตราการขาดงาน ( Absenteeism ) ได้แก่ การลาป่วย ลากิจ ขาดงาน โดยไม่รวมถึงวันหยุดพักผ่อนประจำปี อัตราการขาดงานที่ถือว่าปกติ คือ ตั้งแต่ 3% ถึง6%
- อัตราการหมุนเวียนของคนงาน ( Turnover Rate ) โดยการจดบันทึกเก็บ รวบรวมข้อมูลของหน่วยงานจากในอดีตที่ผ่านมา จากการลาออก, การปลดออกการเกษียณอายุ, การมรณกรรม, การพักงาน, การโยกย้าย ฯลฯ ของพนักงานกระบวนการในการสรรหาพนักงาน ( Process in Recruitment)ถือเป็นกระบวนการถัดมาจากการวางแผนกำลังคน ( Manpower Planning) คำถามและคำตอบที่คน HR&GA จะต้องฝึกตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ มีดังนี้ครับ
หัวข้อคำถาม (Topic of Questions)
1. ทำไมจึงต้องมีการสรรหาพนักงาน?
ตอบ : เพราะองค์กรต้องการคนเพิ่มอันเนื่องมาจากพนักงานลาออก, พนักงานเกษียณอายุ, พนักงานถูกปลดออก,ไล่ออก, เลิกจ้าง, ขยายกิจการ, ขยายสาขา ฯลฯ
2. กระบวนการสรรหาพนักงานมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด?
ตอบ : 2.1 เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารงานบุคคล เพราะตัวบุคคลเป็นปัจจัยชี้ขาดในการแข่งขันของธุรกิจทุกประเภท
2.2 คัดเลือกคนที่เหมาะสมที่สุดเข้ามาทำงานให้องค์กรหรือไม่?
2.3 เป็นการสร้างโอกาสให้กับองค์กรและพนักงาน
3. ใครมีหน้าที่ในการตัดสินใจคัดเลือกและว่าจ้างพนักงาน?
ตอบ : HR&GA จะทำหน้าที่ในการสัมภาษณ์, กลั่นกรองและคาดคะเนว่าผู้สมัครงานท่านนั้นๆ มี
คุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งานนั้นๆ ตามคุณสมบัติที่กำหนดเบื้องต้นในใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) ในหัวข้อคุณสมบัติของตำแหน่งงาน (Job Specifications)ส่วนการตัดสินใจในการคัดเลือกและว่าจ้างจะเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานต้นสังกัด
4. ขอบเขตหรือวิธีการในการสรรหาและว่าจ้างมีอย่างไร?
ตอบ : โดยทั่วไป มี 2 กระบวนการ คือ
4.1 สรรหาจากภายในองค์กร ( Promotion from with-in )
4.2 การสรรหาจากภายนอกองค์กร ( External )
4.1 การสรรหาจากภายในองค์กร ( Promotion from with-in ) ในหลายๆ องค์กรมักจะขาดการวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่งงาน ( Successor ) ซึ่งอยู่ในกระบวนการของการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งงาน หรือ Succession Planning ทำให้ไม่มีการวางตัวหรือจัดทำฐานข้อมูลของพนักงานภายในองค์กรโดยเมื่อมีพนักงานลาออก, เกษียณอายุหรือมรณกรรม จึงค่อยค้นหาบุคลากรมาทดแทน ทำให้ขาดการวางแผนกำลังคนที่ดี ทั้งในด้านศักยภาพของตัวพนักงานและโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งมีคำเปรียบเทียบง่ายๆว่า " แก้ปัญหาเฉพาะหน้า"จึงขอฝากผู้บริหารและหน่วยงาน HR&GA ในเรื่องดังกล่าวนี้เพื่อพิจารณาวาแผนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีอยู่ในองค์กรทุกๆองค์กร ให้ได้รับโอกาสนี้ก่อนที่จะสรรหาพนักงานจากภายนอกองค์กรครับ เพราะพนักงานในองค์กรก็ย่อมปรารถนาที่จะให้ผู้บริหารเห็นคุณค่าและต้องการแสดงฝีไม้ลายมือให้ประจักษ์แก่สายตาพนักงานในองค์กร เพียงแค่องค์กรให้โอกาสกับเขาเหล่านั้นเองครับ

การสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานกับการบริหารความสิ้นเปลือง

วันนี้ผมได้มีโอกาสต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะผู้ตรวจเยี่ยมประมาณ 20 ท่าน ในฐานะผู้ดูแลงานในฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการ ซึ่งจะต้องเตรียมการล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 5 วัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสถานที่ เช่น การสั่งทำแผ่นป้ายต้อนรับผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะฯ การทำความสะอาดถนน การทำความสะอาดห้องน้ำ การวางพานดอกไม้ในห้องน้ำ การทำความสะอาดท่อระบายน้ำ การทำความสะอาดห้องรับรองแขก การตรวจเช็คสไลด์แนะนำบริษัทฯ การตรวจเช็คเครื่องเสียง ไมโครโฟน การตรวจเช็คเครื่องปรับอากาศ การตัดแต่งต้นไม้ นอกจากนี้ก็จะต้องจัดเตรียมในเรื่องของว่าง กาแฟ น้ำดื่ม ของชำร่วย ประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรให้พนักงานทราบโดยทั่วถึง และอีกหลายๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าในกิจกรรมโดยส่วนใหญ่ข้างต้นที่เกิดขึ้นในหลายๆ กิจกรรมเป็นพันธกิจ ( Mission ) หรือความรับผิดชอบในหน้าที่การงานในแต่ละวันที่ผู้รับผิดชอบจะต้องปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว ( Routine Jobs ) ซึ่งเป็นลักษณะของงานธุรการและงานสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานในองค์กร นี่คือเหตุการณ์ในการให้บริการกับบุคคลภายนอกองค์กร ทำให้ผมเกิดคำถามในใจอยู่ 2 ประการคือ
ประการที่ 1 บริษัทฯ ของเรามีระบบการให้บริการที่มีคุณภาพ (Service Quality ) หรือยัง? หรือถ้าพูดภาษา HR ก็ หมายถึงว่า เรามีการสร้างความพึงพอใจ ให้กับพนักงานตรงกับความต้องการของเขาหรือไม่?
ประการที่ 2 ความมี คุณภาพในการให้บริการ หรือ ความพึงพอใจในการ ให้บริการจะมีมาตรฐาน อย่างไร ที่จะไม่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นความสิ้นเปลือง จึงได้พยายามใช้สมองนั่งสมาธิ (แบบเดียวกับ อิ๊คิวซัง นะครับ) ก็ได้แนวคิด และแนวทางในการสร้างระบบการให้บริการที่มีคุณภาพหรือการสร้างระบบความพึงพอใจให้กับพนักงาน รวมทั้งแนวคิด และแนวทางในการสร้างมาตรฐานความพอเพียงหรือความเหมาะสม ในการให้บริการ ดังต่อไปนี้
การสร้างระบบการให้บริการที่มีคุณภาพหรือการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน
1. ตัดความรู้สึกส่วนตัวออกไปก่อน
: หลายครั้ง ที่เราไม่อยากให้บริการเพราะเรามีความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบ ในตัวบุคคลหรือหน่วยงาน มาเป็น
อุปสรรคในการให้บริการ ทำให้เราปฏิบัติงานแบบ Go day day (ไปวันวัน) และขาดความรู้สึก (Feeling) ในการที่จะเอาอกเอาใจ พนักงาน
ทำให้เราไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเวลามีการสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ คะแนนรวมของเรา
ก็จะน้อย หรือไม่ก็ถึงขั้นติดลบ ซึ่งจะส่งผลตามมาในอีกหลายประการ เช่น ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงาน ความไม่ได้รับ
ความสะดวกหรือความร่วมมือจากบุคคลหรือจากหน่วยงาน เป็นต้น
2. เล่นตาม บท : นักแสดงที่ดี หรือที่เรียกว่าตีบทแตกนั้น มักจะได้รับรางวัล และ คำชมเชยมากมายจากผู้ชมและทีมงาน เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อเรามี
บทที่ต้องแสดงในฐานะผู้ให้บริการ ก็จะต้องสวมบทบาทนี้ให้โดนใจผู้รับบริการ โดยเล่นให้ตรงกับบทบาท สถานการณ์ บุคคล งบประมาณ
ฯลฯ เพราะหากเราเล่นไม่สมบทบาทแล้ว ก็ไม่แตกต่างอะไรกับนักมวยที่ขึ้นเวทีแล้วถูกไล่ลงจากเวที เนื่องจากชกไม่สมศักดิ์ศรีครับ
3. ใช้ความรู้สึก ของตัวเรา เป็นเกณฑ์ : ในบางครั้งเรามักจะลืมไปว่าความรู้สึกของตัวเราก็สามารถที่จะนำมาเป็นเกณฑ์ในการให้บริการกับ
พนักงาน ได้ครับ เพราะตัวเราก็มีความรู้สึกนึกคิด มีความต้องการในการได้รับบริการที่ดีไม่แตกต่างอะไรจากพนักงานครับ คำว่า เอาใจเขา
มาใส่ใจเรา ยังคงเป็นคำฮิตในทุกยุดทุกสมัย ที่เราไม่ควรลืมครับ
4. รวดเร็ว ฉับไว และทันอกทันใจ : ความอืดอาดคือ อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งในการให้บริการครับ หลายครั้งที่ผู้ให้บริการก็ทำไปแบบที่เรียกว่า
ซังกะตาย ไร้ชีวิตชีวา ดังนั้น ถ้าเราปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพในการให้บริการจากเซื่องซึมเชื่องช้า ให้กลายเป็นรวดเร็ว ฉับไวและทันอกทันใจ
รับประกันความพึงพอใจได้เลยครับว่า ท่านคือหนึ่งในใจของพนักงานเลยครับ

5. สม่ำเสมอ หรือเสมอต้นเสมอปลาย : ไม่ว่าพนักงานจะมาติดต่อกับเราวันไหน เวลาใด หรือที่ไหนก็ตาม พนักงานก็ต้องการความรู้สึกว่า
ความสม่ำเสมอ ( Consistency) หรือความเสมอต้นเสมอปลาย ความคงเส้นคงวาของผู้ให้บริการ โดยท่านจะต้องทำให้พนักงานรับรู้หรือรู้สึก
ได้เลยว่า จิตนาการหรือรูปแบบในการให้บริการแต่เดิมที่เราเคยปฏิบัติเป็นอย่างไร ครั้งนี้ก็ได้รับการให้บริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน มิใช่สร้าง
ความรู้สึกว่า การติดต่อขอรับบริการจากเราในฐานะผู้ให้บริการจะต้องขึ้นอยู่กับจังหวะของอารมณ์ของเราและโชคชะตาของผู้รับบริการ

การสร้างมาตรฐานความพอเพียงหรือความเหมาะสมในการให้บริการ
1. การส่งมอบบริการ
: เราจะต้องพิจารณาที่จุดสัมผัสบริการ (Touch Point) ว่า การให้บริการกับพนักงาน เรามีจุดสัมผัสบริการอะไรบ้าง
เช่น พื้นที่หรือบริเวณในการให้บริการ ผู้ให้บริการ ความพร้อมของเอกสาร การนัดหมาย เป็นต้น เพื่อเราจะรู้ได้ว่ามีจุดใดบ้างที่เราจะพบกับ
พนักงาน ต้องให้บริการพนักงานโดยคำนึงถึงทุกจุดบริการ
2. ความต้องการของพนักงานแต่ละกลุ่มเป้าหมาย: เราจะต้องกำหนดความต้องการของพนักงานในแต่ละกลุ่มให้ได้ว่า แยกเป็นกี่กลุ่ม และแต่ละ
กลุ่มมีความต้องการอะไรบ้าง เพื่อจะได้จัดลำดับและกำหนดภารกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามความต้องการและงบประมาณที่จะใช้ในแต่
ละกลุ่มพนักงาน
3. ธุรกิจอยู่รอด : หมายความว่า การให้บริการที่มิใช่เราตามใจพนักงานไปเสียทุกอย่าง แต่จะต้องออกแบบการให้บริการที่พนักงานพึงพอใจและ
สมเหตุสมผล โดยบริษัทมีกำไรและมั่นคง หากท่านสามารถสร้างความสมดุลระหว่างการให้บริการที่มีคุณภาพหรือการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน กับการบริหารความสิ้นเปลือง
หากท่านสามารถสร้างความสมดุลระหว่างการให้บริการที่มีคุณภาพหรือการสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน กับการบริหารความสิ้นเปลืองหรือการสร้างมาตรฐานในการให้บริการอย่างพอเพียง สมเหตุสมผลแล้ว เชื่อได้ว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ได้ยกระดับการให้บริการได้อย่างเป็นเลิศครับ

เสริมเขี้ยวเล็บนักขายมือใหม่ให้เป็นมืออาชีพ ( ว่าด้วยการเปิด-ปิดการขาย )

การขายเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยศาสตร์ของวิชาชีพ นักขายที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่เพียงอาศัยสัญชาตญาณของการขายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยทักษะด้านการวิเคราะห์ และการบริหารลูกค้า
ตราบใดที่ทุกสิ่งเท่าเทียมกัน ผู้คนส่วนมากจะซื้อสินค้าโดยเลือกราคาที่ดีที่สุด งานของนักขายคือทำยังไงให้ลูกค้าเห็นว่าสิ่งต่างๆ ล้วนมีความแตกต่างกัน นักขายทำเช่นนั้นได้ด้วยการตั้งคำถามที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม และการนำเสนอวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการเหมาะสม องค์ประกอบสำคัญในกระบวนการขายมีจุดเน้นอยู่ที่ การเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าคาดหวังยอมสละเวลาพูดคุยกับเรา ต่อเมื่อเรานัดหมายได้สำเร็จ เราจำเป็นต้องเพิ่มโอกาสในช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกัน เพื่อสร้างความพึงพอใจ และก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย
การเปิด -ปิด การขาย และตอบข้อโต้แย้งลูกค้า รวมไปถึงการให้บริการลูกค้า ล้วนแล้วแต่เป็นหัวใจสำคัญของงานขายทั้งสิ้น คำถามยอดฮิตที่นักขายมือใหม่ชอบถามบ่อยๆคือ
ผมจะปิดการขายได้อย่างไร ?
ผมจะตอบข้อโต้แย้งลูกค้าได้อย่างไร ?

การปิดการขาย ( Closing)
หัวใจของงานขายคือ ผลงานที่เกิดขึ้นสถิติการปิดการขายของนักขายมืออาชีพ80 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่ซื้อสินค้าเกิดจากการปิดการขายครั้งแรก และ อีก20 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากการขายครั้งต่อไป เทคนิคง่ายๆ คือ
1. การเตรียมตัวก่อนเข้าพบลูกค้า ( Preapproach )
นักขายจะต้องศึกษาข้อมูลลูกค้า ข้อมูลบริษัทฯ และข้อมูลบุคคลที่เราติดต่อ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์การเข้าพบ เช่น เป็นลูกค้าที่ซื้อใช้เอง หรือร้านค้า เป็นลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่า แล้วจัดเตรียมเอกสาร Price list Catalog หรือรายการส่งเสริมการขาย และสินค้าตัวอย่าง เพื่อนำเสนอลูกค้า นักขายต้องรู้ว่าบุคคลที่เราจะไปติดต่อ ชื่ออะไร ตำแหน่งอะไร สะดวกให้เข้าพบเวลาไหน ต้องโทรนัดก่อนทุกครั้ง หรือไม่ วัตถุประสงค์ คือ กระตุ้นยอดขาย หรือนำเสนอสินค้าใหม่ อีกสิ่งหนึ่งที่นักขายจะต้องรู้คือเรื่องสินค้าของบริษัทฯ รวมไปถึงคู่แข่งทางการค้าด้วยเพราะจะทำให้
นักขายสามารถตอบข้อโต้แย้งของลูกค้า ได้
2.การเข้าพบลูกค้า ( Approach )
นักขายต้องเข้าใจวิธีการสร้างความประทับใจลูกค้าตั้งแต่แรกพบ เช่น บุคลิกภาพ การแสดงกริยาอ่อนน้อม และไปตามนัดหมายให้ตรงเวลาควรจะไปถึงก่อนเวลานัดสัก 10-15 นาที ลูกค้าบางคนค่อนข้างมีระเบียบเรื่องเวลา
3.การเปิดใจลูกค้า ( Open mind )
การโยนคำถามให้ลูกค้าตอบมาแล้วลูกค้ามีความสุข เช่น ถามถึงความสำเร็จของลูกค้าในหน้าที่การงานจากอดีตถึงปัจจุบัน หรืองานอดิเรกที่ลูกค้าชอบ รวมไปถึงการขายและการตลาดเพราะลูกค้าสัมผัสอยู่หน้างานมากกว่านักขาย ฯ ข้อมูลเหล่านี้ นักขาย จะได้เก็บมาวิเคราะห์ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงแก้ไข และพัฒนา
4.การเสนอขายสินค้า ( Presentation )
การนำเสนอขายมีหลายรูปแบบตามสไตล์ของนักขาย และเครื่องมือของบริษัทฯ เช่น ตัวอย่างสินค้า Catalog CD ชาร์ท สไลด์ เป็นต้น
5.การปิดการขาย ( Closing )
นักขายบางคนไม่สามารถปิดการขายได้ เนื่องจากขาดความมั่นใจ หรือรู้สึกไม่ดีกับการขอออเดอร์ลูกค้า นักขายต้องรู้จักสังเกตสัญญาณการสั่งซื้อของลูกค้า ซึ่งอาจจะแสดงออกโดยท่าทาง คำพูด คำถาม หรือบางครั้งนักขายอาจจะเสนอสิ่งจูงใจเพื่อปิดการขายให้ง่ายขึ้น เช่น ราคาพิเศษ หรือ ปริมาณเพิ่มขึ้น
การตอบข้อโต้แย้ง ( Overcoming objections) ระหว่างการนำเสนอขายสินค้า ลูกค้ามักจะมีปัญหาข้อโต้แย้งหรือปฏิกิริยาต่อต้าน อยู่ 2 ประเภท
1.การต่อต้านทางจิตวิทยา ( Psychological resistance ) เช่น
มีความชื่นชอบสินค้าเดิมหรือผู้ขายคนเดิม กำลังหงุดหงิด รำคาญที่ถูกรบกวน ไม่ชอบพนักงานขาย ก่อนอื่นนักขายต้องมีความเชื่อมั่นในสินค้า ที่ขายอยู่ ถ้ามีความจริงใจแล้ว จะสามารถถ่ายทอดให้กับลูกค้าได้ไม่ยาก ดังนั้นนักขายต้องมีความศรัทธาในตัวสินค้าและเชื่อมั่นในตัวเองเสียก่อน จึงจะสามารถตอบข้อโต้แย้งกับลูกค้าได้อย่างเต็มปาก แต่ไม่ใช่เป็นการโต้เถียงกับลูกค้า เพราะอาจทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกว่าถูกท้าทาย แม้ว่านักขายจะมีเหตุผลดี แต่ลูกค้าไม่ยอมรับ นักขายต้องมีศิลปะในการพูดทำให้ลูกค้าประทับใจ
2. การต่อต้านที่เป็นเหตุผล ( Logical resistance ) เช่น
กำหนดระยะเวลาการส่งมอบสินค้า ลักษณะของสินค้า และราคา ฉะนั้นการตอบโต้ลูกค้าต้องใช้วิธีการเชิงบวกโดยขอความชัดเจนในข้อสงสัยของลูกค้า และตั้งคำถามเพื่อให้ลูกค้าตอบข้อโต้แย้งของตัวเอง หรือเปลี่ยนข้อโต้แย้งให้เป็นเหตุผลในการสั่งซื้อสินค้า วิธีการเหล่านี้ถือเป็นทักษะของการเจรจาต่อรองอย่างหนึ่ง การติดตาม และรักษาลูกค้า ( Follow-up maintenance) การติดตามลูกค้าและรักษาลูกค้าจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรับประกันความพอใจ และกลับมาซื้อสินค้าซ้ำของลูกค้า ทันทีที่ปิดการขายนักขายต้องกำหนดรายละเอียดที่สำคัญ เช่น ระยะเวลาการส่ง เงื่อนไขการสั่งซื้อ และจะต้องวางแผนการเยี่ยมลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อที่ลูกค้า จะได้มั่นใจว่าได้รับการ ให้บริการ

"แม้ไม่ได้เป็นคนสำคัญในโลกใบนี้ แต่คุณกำลังพยายามทำอย่างดีที่สุดดังเช่นคนทั้งหลาย นั่นคือ การที่ได้มีการต่อสู้ในสนามประลองที่เต็มไปด้วยความยากลำบากที่ซึ่งมวลมนุษยชาตินั้นต้องต่อสู้อย่างไม่มีวันจบ"