วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา๕ /๑

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ( แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ ๒๕๕๑ ) มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้ “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หลักเกณฑ์โดยย่อ ลูกจ้างนั้นมีองค์ประกอบ ๒ รายการ คือ ๑ ) ผู้ตกลงทำงานให้นายจ้าง ๒ ) การทำงานนั้นเพื่อรับค่าจ้าง หลักเกณฑ์การเป็นลูกจ้างนั้น ทั้งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ใช้หลักเณฑ์เดียวกัน ดังนั้น คำพิพากษาฎีกาที่วินิจฉัยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จึงนำมาปรับใช้กับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.๒๕๔๑ ได้ ฎีกาสำคัญ คำพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเป็นลูกจ้าง ฎีกาที่ ๒๙๗๐ / ๒๕๔๘ ลูกจ้าง คือ ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างโดยอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง หมายความว่า ลูกจ้างต้องทำงานตามที่นายจ้างสั่งและต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างสามารถลงโทษได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่ามิใช่ลูกจ้าง ฎีกาที่ ๒๔๑๗ / ๒๕๔๔ โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของจำเลยที่ ๑ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานในบริษัทจำเลยที่ ๑ รองจากนาย ถ. ซึ่งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้บังคับการทำงานของจำเลยที่ ๑ อีกทั้งไม่มีผู้ใดในบริษัทจำเลยที่ ๑ สามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้ แสดงว่า โจทก์ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยที่ ๑ โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑ อาจารย์ สมชาย หลักคงคา

ไม่มีความคิดเห็น: